3-5 กรกฎาคม 2566 : การจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การวิเคราะห์และคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารโดยใช้โปรแกรม OmniTRANS เบื้องต้น

Visits: 282
Today: 2
Total: 126796

กรมการขนส่งทางราง โดยที่ปรึกษาโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 ได้ดำเนินการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การวิเคราะห์และคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารโดยใช้โปรแกรม OmniTRANS เบื้องต้น ขึ้น เมื่อวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2566 โดยมีวิทยากรคือ ผศ.ร.อ.ดร.สุทธิพงษ์ มีใย ผู้เชี่ยวชาญด้านการจราจรและขนส่ง ศูนย์เทคโนโลยีประยุกต์ด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ สาขาวิชาวิศวกรรมขนส่ง สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และที่ปรึกษาประจำโครงการ ณ ห้องคอมพิวเตอร์ อาคาร 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในด้านการวางแผนการขนส่ง และการวิเคราะห์และคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร จำนวน 10 คน ให้สามารถดำเนินการวิเคราะห์และนำไปใช้งานได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

เนื้อหาการอบรมได้มีการกล่าวถึงขั้นตอนการติดตั้งโปรแกรม การตั้งค่าโปรแกรมเบื้องต้น และได้มีการอบรมถึงวิธีการใช้และการกำหนดตั้งค่าคุณสมบัติของเครื่องมือต่างๆ เช่น การสร้าง Zone เพื่อกำหนดขอบเขตพื้นที่ การสร้าง Centroid เพื่อเป็นตัวแทนของจุดต้นทางและปลายทาง การสร้างและตั้งค่า Link เพื่อเป็นตัวแทนของโครงข่ายถนนหรือเส้นทางขนส่งมวลชน การสร้างและตั้งค่า Stop และ Transit Line เพื่อกำหนดจุดจอดรถและเส้นทางการวิ่งและการหยุดของระบบขนส่งสาธารณะ การกำหนดตั้งค่าพารามิเตอร์ใน Dimensions และ Link Type & Modes ต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการกำหนดตั้งค่าและรันโมเดล การแสดงผลข้อมูลทั้งในรูปแบบ Database และเส้นสีหรือแผนภูมิภาพ นำเข้าข้อมูลจากภายนอกเข้ามายังโปรแกรม และการนำผลลัพธ์ที่ได้จากแบบจำลองมาสร้างในรูปรายงาน เป็นต้น โดยได้มีการอบรมสาธิตถึงขั้นตอนการสร้างและตั้งค่าพารามิเตอร์ของ Transit Line ในการจำลองระบบขนส่งมวลชน และได้มีการอธิบายเกี่ยวกับเครื่องมือ Path Engine ในการหา Shortest path

และได้มีการอธิบายถึงรายละเอียดขั้นตอนการสร้างแบบจำลองด้านขนส่งและจราจรตาม 4-Step Model ในโปรแกรม OmniTRANS อาทิเช่น การอธิบายถึงทฤษฎีเบื้องต้นของโมเดล
Trip generation, Trip distribution, Modal split และ Trip assignment และอบรมสาธิตตัวอย่างการ Coding และการตั้งค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ในการรันทั้ง 4 โมเดลใน 4-Step Model เป็นต้น
โดยได้มีการอธิบายถึงการ Coding เพื่อกำหนดพารามิเตอร์และสร้างสมการของ Trip production และ Trip attraction ของโมเดล Trip generation ที่ใช้ในการรันในแบบจำลอง

Category:
News