27 ตุลาคม 2564 : การประชุมคณะทำงานให้ความเห็นและให้ข้อเสนอแนะที่ปรึกษาฯ (ครั้งที่ 2/2564)

Visits: 827
Today: 1
Total: 125863

ได้นำเสนอรายงานความก้าวหน้าฉบับที่ 1 (Progress Report 1) ต่อที่ประชุม สรุปดังนี้

รายละเอียดของโครงการและความก้าวหน้า
– ขอบเขตของงาน ประกอบไปด้วยงานทั้ง 5 ส่วน
– กำหนดส่งมอบงาน ซึ่งรายงานความก้าวหน้า ฉบับที่ 1 กำหนดส่งวันที่ 14 ตุลาคม 2564
และรายงานฉบับถัดไป รายงานความก้าวหน้า ฉบับที่ 2 กำหนดส่งวันที่ 14 มกราคม 2565
– ความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการ โดยความก้าวหน้ารวมอยู่ที่ 20.51%
– การเปรียบเทียบขอบเขตงานตาม TOR กับหัวข้อในรายงานความก้าวหน้า ฉบับที่ 1
การรวบรวม ศึกษาและทบทวนข้อมูล
– การทบทวนแผนการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางในประเทศไทย ตลอดจนรวบรวมข้อมูลปริมาณผู้โดยสาร รูปแบบโครงการ แนวเส้นทาง ตำแหน่งสถานีรถไฟฟ้า มูลค่าการลงทุน รวมทั้งสถานะของโครงการในปัจจุบันตาม M-MAP และรายละเอียดที่เสนอไว้ใน M-MAP2 Blueprint การเปรียบเทียบแบบจำลอง ระหว่าง New e-BUM (สนข.) Railway- Focused (ขร.) และ ABM-Railway- Focused (ขร.) ซึ่งแบบจำลอง Railway- Focused (ขร.) และ ABM-Railway- Focused (ขร.) มีการคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารระบบรางที่แม่นยำ มีความละเอียดมากว่า New e-BUM (สนข.) การทบทวนรวมถึงการศึกษาทบทวน แผนยุทธศาสตร์ แผนพัฒนา และ โครงการศึกษาออกแบบที่เกี่ยวข้อง
– การศึกษา ทบทวน และรวบรวมข้อมูลด้านผังเมืองที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่เมือง
และการเดินทางในเขตเมืองและพื้นที่บริเวณโดยรอบ ซึ่งได้แก่ ผังนโยบายการใช้ประโยชน์พื้นที่
ผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดิน การใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน โครงการพัฒนาพื้นที่ขนาดใหญ่ และการวิเคราะห์ข้อมูลด้านผังเมือง รวมถึงทิศทางการพัฒนาเมือง
– การศึกษา ทบทวน และเปรียบเทียบแบบจำลองด้านการขนส่งและจราจร โดยแบ่งเป็น แบบจำลองเพื่อคาดการณ์ผู้โดยสารระบบรางในต่างประเทศ และบทสรุปการนำแนวทางพัฒนาระบบรางในต่างประเทศมาใช้กับประเทศไทย
– การศึกษาผลกระทบต่อระบบขนส่งสาธารณะในภาพรวม, ผลกระทบต่อระบบขนส่งมวลชน
ทางราง รวมถึงพฤติกรรมการเดินทางของคนไทยในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 และข้อสรุปรูปแบบสังคมและธุรกิจหลังการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 สิ้นสุดลง

การวางแผนเพื่อพัฒนาโครงข่าย M-MAP 2
– วิเคราะห์สถานการณ์ในปัจจุบันและแนวโน้มรูปแบบการเดินทางในเมืองและการขยายตัวของเมืองให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต โดยได้ทำการศึกษารูปแบบการเดินทางในเมือง การขยายตัวของเมือง และการเปลี่ยนแปลงศูนย์กลางเมืองใหม่
– วิเคราะห์เพื่อกำหนดประเด็นในการวางแผนพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 โดยได้แบ่งประเด็นพร้อมทั้งตัวชี้วัด
ในการวิเคราะห์ออกเป็น 6 ประเด็น ได้แก่
ประเด็นที่ 1 เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจร (Capacity)
ประเด็นที่ 2 เพื่อเพิ่มความสามารถในการเข้าถึงระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่ปิดล้อมขนาดใหญ่ และรองรับการขยายตัวของเมืองในอนาคต (Coverage)
ประเด็นที่ 3 เพื่อพัฒนาโครงข่ายรวมและกระจายการเดินทางเพิ่มเติม (โครงข่ายวงแหวนและโครงข่ายรัศมี/ผ่านเมือง ในแนวตะวันตก – ตะวันออก) (Connectivity)
ประเด็นที่ 4 เพื่อต่อเติมโครงข่ายในส่วนที่ขาดหายให้เกิดความสมบูรณ์ (Missing Link) และบูรณาการการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานระบบขนส่งอื่น ๆ (Integration)
ประเด็นที่ 5 เพื่อความสอดคล้องและเชื่อมต่อกับการขนส่งรูปแบบอื่น (Intermodal)
ประเด็นที่ 6 เพื่อพัฒนาระบบขนส่งมวลชนรอง (Feeder System) และโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ เพื่อส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งทางราง (Accessibility)
– วิเคราะห์ความจําเป็นและความเหมาะสมของโครงข่ายตามแผน M-MAP ที่ยังไม่ได้ดำเนินการและโครงข่ายเพิ่มเติมตามที่ JICA ได้เสนอไว้ใน M-MAP 2 Blueprint โดยการทบทวนและพิจารณาโครงข่ายที่ยังไม่ได้ดำเนินการตามแผน M-MAP และ M-MAP2 Blueprint เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการดำเนินงานและลดภาระการลงทุนโดยไม่จำเป็น
– การทบทวนแนวทางการจัดลำดับความสำคัญของโครงการ
– การทบทวนข้อมูลของกฎหมายทั้งในและต่างประเทศเกี่ยวกับมาตรการ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ แนวทางปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชน
– การทบทวนและศึกษาการใช้มาตรการด้านภาษีสำหรับนิติบุคคลหรือบุคคลธรรมดาที่ครอบครองหรือใช้ประโยชน์บนที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ของรัฐ และการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรางของภาครัฐรวมถึงข้อจำกัดของกฎหมาย
ในปัจจุบัน

การประชาสัมพันธ์ การมีส่วนร่วม และการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น
– ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Examination: IEE) ของเส้นทางใหม่ที่มีการเสนอแนะ ได้ทบทวนการศึกษาต่าง ๆ ดังนี้
o ทบทวนการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในระดับยุทธศาสตร์ (SEA) การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) และการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในขั้นรายละเอียด (EIA)
o ทบทวนผลการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.)
o แนวทางในการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental: IEE) ของเส้นทางใหม่ที่มีการเสนอแนะ
– การดำเนินการผลิตและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลโครงการผ่านเว็บไซตโครงการชื่อ
“www.m-map2thailand.com” และผ่าน Facebook แฟนเพจโครงการ ชื่อเพจว่า “M-MAP แผนแม่บทในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน M-Map2”

 

Category:
News