19 สิงหาคม 2564 : การประชุมคณะทำงานให้ความเห็นและให้ข้อเสนอแนะที่ปรึกษาฯ (ครั้งที่ 1/2564)

Visits: 815
Today: 1
Total: 124835

กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ได้ว่าจ้างกลุ่มที่ปรึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และบริษัท พีเอสเค คอนซัลแทนส์ จำกัด เป็นที่ปรึกษาศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง)
ระยะที่ 2 ตามสัญญาเลขที่ 10/2564 ลงวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 60,900,000 บาท
(หกสิบล้านเก้าแสนบาทถ้วน) ระยะเวลาดำเนินการ 18 เดือน โดยเริ่มปฏิบัติงานในวันที่ 15 กรกฎาคม 2564 และ
จะสิ้นสุดสัญญาวันที่ 14 มกราคม 2566 ซึ่งมีวัตถุประสงค์โครงการและขอบเขตของงาน ดังนี้

       1.1.1 วัตถุประสงค์โครงการ

                (1) เพื่อทบทวนสถานะปัจจุบันของโครงการตาม M-MAP และทำการประสานแผนงาน ความก้าวหน้าต่างๆ ที่แต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างดำเนินการ รวมทั้งรวบรวมปัญหาอุปสรรคที่เกิดจาก
การดำเนินงานตาม M-MAP ตลอดจนการทบทวนแนวทางตาม M-MAP 2 Blueprint

                (2) เพื่อศึกษาทบทวนความเหมาะสมของโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางราง รวมถึง
แต่ละเส้นทางและรูปแบบการพัฒนาโครงการที่ได้กำหนดไว้ใน M-MAP แต่ยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้าง
และทบทวนโครงข่ายที่เสนอไว้ใน M-MAP 2 Blueprint และเสนอเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบ
การขยายตัวและการพัฒนาเมือง

                (3) เพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบราง (Railway Demand Forecast Model)

                (4) จัดลำดับความสำคัญของแต่ละเส้นทาง เพื่อจัดทำแผนการดำเนินงานในการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน รวมทั้งแผนการเงินในการลงทุน กำหนดแนวทางและกลยุทธ์ในการดำเนินโครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง

                (5) ดำเนินการตามกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนและการประชาสัมพันธ์ เรื่องระบบการขนส่งมวลชนทางรางเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและความร่วมมือจากประชาชน

       1.1.2  ขอบเขตของงาน

                (1) งานส่วนที่ 1  การรวบรวม ศึกษาและทบทวนข้อมูล

              (2) งานส่วนที่ 2  การพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบราง (Railway Demand Forecast Model)

              (3) งานส่วนที่ 3  การวางแผนเพื่อพัฒนาโครงข่าย M-MAP 2

              (4) งานส่วนที่ 4  การดำเนินการด้าน In-House Technical Arms

              (5) งานส่วนที่ 5  การประชาสัมพันธ์ การมีส่วนร่วม และการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น

 

 

 

กลุ่มที่ปรึกษาฯ ได้นำเสนอรายงานเบื้องต้น (Inception Report) ต่อที่ประชุม สรุปดังนี้

  • รายละเอียดของโครงการและแผนงาน
  • วัตถุประสงค์ของโครงการ
  • ขอบเขตของงาน
  • กำหนดส่งมอบงาน
  • บุคคลากรที่ปฏิบัติงานในโครงการ
  • แผนงาน
  • ความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการ
  • การเปรียบเทียบขอบเขตงานตาม TOR กับหัวข้อรายงาน
  • งานส่วนที่ 1 การรวบรวม ศึกษาและทบทวนข้อมูล
  • ข้อมูลโครงการปัจจุบัน M-MAP และ M-MAP 2 Blueprint และโครงการออกแบบที่เกี่ยวข้อง
  • ข้อมูลผังเมืองและโครงข่ายคมนาคมขนส่งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
  • ศึกษา ทบทวน และเปรียบเทียบแบบจําลองด้านการขนส่งและจราจรทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • การศึกษาผลกระทบต่อระบบขนส่งสาธารณะจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 และแนวทางการดำเนินงานหลังการระบาดสิ้นสุดลง
  • งานส่วนที่ 2 การพัฒนาแบบจําลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบราง (Railway Demand Forecast Model)
  • การศึกษา รวบรวม และทบทวนข้อมูลผลการสำรวจที่มีอยู่ และข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • การสำรวจและเก็บข้อมูลการเดินทาง
  • กำหนดเงื่อนไขเบื้องต้น (Precondition) สำหรับการพัฒนาแบบจําลองฯ
  • การสอบเทียบ (Calibration) และพิสูจน์แบบจำลอง (Validation)
  • การศึกษาแนวทางการพัฒนาแบบจำลองความต้องการเดินทางด้วยระบบรางเชิงกิจกรรม
  • การจัดหาชุด Software (User Licenses) การพัฒนาแบบจำลองที่เป็นปัจจุบัน
  • งานส่วนที่ 3 การวางแผนเพื่อพัฒนาโครงข่าย M-MAP 2
  • วิเคราะห์สถานการณ์ในปัจจุบันและแนวโน้มรูปแบบการเดินทางในเมืองและการขยายตัวของเมืองให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคต
  • วิเคราะห์เพื่อกำหนดประเด็นในการวางแผนพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2
  • วิเคราะห์ความจําเป็นและความเหมาะสมของโครงข่ายตามแผน M-MAP ที่ยังไม่ได้ดำเนินการและโครงข่ายเพิ่มเติมตามที่ JICA ได้เสนอไว้ใน M-MAP 2 Blueprint
  • เสนอแนะโครงข่ายที่เหมาะสมและโครงข่ายใหม่ที่จำเป็นต้องพัฒนาเพิ่มเติมตามผลการวิเคราะห์และคาดการณ์ปริมาณความต้องการเดินทาง ทั้งโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนหลักและโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนสายรอง
  • ศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้น และวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางวิศวกรรม ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจสังคมและการลงทุนของเส้นทางใหม่ที่มีการเสนอแนะ
  • วิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญของโครงการ พร้อมจัดทำแผนพัฒนาและแผนการลงทุน
    ในแต่ละเส้นทาง เสนอแนะพื้นที่หรือจุดที่เหมาะสมในการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก
    ในการเชื่อมต่อการเดินทาง (Inter-modal facilities) ออกแบบพื้นที่ดังกล่าวเชิงหลักการเบื้องต้น (Perspective) อย่างน้อย 3 จุด
  • เสนอแนะมาตรการ รวมทั้งร่างกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมและดึงดูดให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางมาใช้ระบบขนส่งมวลชน
  • ประเมินความเป็นไปได้ในการใช้มาตรการด้านภาษีสำหรับนิติบุคลหรือบุคคลธรรมดาที่ครอบครองที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของรัฐและมีการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ที่ได้รับประโยชน์จากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรางของภาครัฐ พร้อมจัดทำร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์พื้นที่ตามแนวเส้นทางที่ระบบขนส่งมวลชนดำเนินการก่อสร้างให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาเมือง
  • งานส่วนที่ 4 การดำเนินการด้าน In-House Technical Arms
  • จัดให้มีบุคลากรทําหน้าที่เป็น In-House Technical Arms รับผิดชอบในการให้การสนับสนุนทางด้านวิชาการเทคนิค การวิเคราะห์แบบจําลองด้านการขนส่งและจราจร เพื่อใช้ในการวางแผนและตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาด้านการขนส่งและจราจรโดยเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ที่กรมการขนส่งทางรางตามความเหมาะสม
  • งานส่วนที่ 5 การประชาสัมพันธ์ การมีส่วนร่วม และการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น
  • ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Examination: IEE) ของ เส้นทางใหม่ที่มีการเสนอแนะ
  • ดําเนินงานการสร้างความเข้าใจและการมีส่วนร่วมของประชาชนตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548
  • ดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการในภาพรวมและผลิตสื่อประกอบเพื่อใช้เป็นเครื่องมือ
    ในการสื่อสารต่อกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจต่อสาธารณชน พร้อมทั้งบริหารจัดการเพื่อการเผยแพร่ข่าวสารผ่านสื่อมวลชน ที่เหมาะสม

Category:
News